เรื่องของภาษีจากรายได้ที่ได้จากการขายของออนไลน์ เป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจออนไลน์ทุกคนจำเป็นจะต้องรู้ และไม่ควรปล่อยผ่าน เพราะในไม่กี่ปีที่ผ่านมากระแสการซื้อขายออนไลน์นั้นเติบโตมากขึ้น เนื่องจากมีผู้คนหันตัวมาประกอบธุรกิจออนไลน์ และขายสินค้าชนิดต่างๆ หลากหลาย ด้วยความที่เห็นช่องทางในการหารายได้เพิ่มเติม และแพลตฟอร์มที่ใช้ได้ฟรีทุกที่ทุกเวลา หรือสามารถใช้เงินซื้อเพื่อบูสการมองเห็นได้ แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการหลายๆ คนอาจจะยังละเลยอยู่นั่นก็คือ “การจ่ายภาษี”
ถ้าอ่านข้อกฎหมายจะมีระบุไว้ว่า ผู้ประกอบการในประเทศไทยที่มีรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการ จำเป็นจะต้องเสียภาษีให้กับทางลัด ซึ่งวันนี้เราจะมาอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการเสียภาษี ที่ได้รับรายได้มาจากการขายของออนไลน์ หรือภาษีที่ได้จาก E-commerce ให้ทุกคนได้รู้กันครับ
ธุรกิจขายของออนไลน์หรือ E-Commerce จำเป็นจะต้องเสียภาษีหรือไม่
ผู้ที่ประกอบธุรกิจใดๆ จำเป็นจะต้องเสียภาษีทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเป็นอาชีพเสริม หรือขายเป็นรายได้หลัก เพราะเมื่อได้รับรายได้เข้ามาก็ถือว่าเราจำเป็นจะต้องเสียภาษีให้กับทางรัฐแล้ว และไม่ควรหลีกเลี่ยงภาษี เพราะมีความเสี่ยงที่จะโดนจับได้
ธุรกิจของเราจะต้องเสียภาษีประเภทใด?
สำหรับร้านขายของออนไลน์หรือธุรกิจ E-commerce จะต้องดูลักษณะรูปแบบของธุรกิจ และรายได้ที่ได้รับซึ่งจะถูกแบ่งง่ายๆ เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาคือ การที่ผู้ขายไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลเป็นบริษัท หรือห้างร้าน เนื่องจากทำเองขายเอง และนำสินค้าจากที่อื่นมาขายเอง โดยรายได้นั้นถือเป็นรายได้จากสินค้า และบริการเป็นรายได้ประเภทที่ 8
สามารถคิดอัตราภาษีได้ 2 แบบด้วยกัน
- รายได้จากการขายสินค้าที่ไม่ได้เป็นงานหลัก ก็คือมีรายได้ประจำอีกช่องทางอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องคิดเป็นเงินสุทธิ (ภ.ง.ด. 91) นั่นก็คือรายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
- สำหรับผู้ที่รับงานประจำ และรับเงินเดือนประจำอยู่แล้ว แต่ยังมีรายได้การขายสินค้าอื่นๆ เกิน 100,000 บาทต่อปี จะต้องคิดภาษีในแบบที่ 2 นั่นก็คือ แบบแรกตาม ภ.ง.ด. 91 โดยยื่นเป็นรายได้จากเงินเดือน และในส่วนเงินที่ได้จากการขายสินค้าออนไลน์ ให้คิดในรูปแบบเงินได้พึงประเมิน (ภ.ง.ด. 94) โดยวิธีการคือ นำเงินได้จากสินค้าทั้งหมดคูณด้วย 0.005 และถ้าเลขภาษีออกมาไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้ามีจำนวนเกินจากนั้นจะต้องมาเทียบกับวิธีการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (ภ.ง.ด. 91) อีกครั้งหนึ่งว่า การคำนวณจากฐานรายได้แบบไหนต้องจ่ายภาษีสูงกว่ากัน ทราบแล้วให้เลือกจ่ายอันที่สูงกว่าเพียงอันเดียวเท่านั้น
ธุรกิจที่อยู่ในรูปนิติบุคคล มีลักษณะที่ เฝ้าของได้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทขึ้นมาตามกฎหมาย จึงจำเป็นจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามเกณฑ์ปกติ และกำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากรจะต้องเสียภาษี และอัตรา 20 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิที่ได้มา
รายได้
นอกจากเรื่องภาษีเงินได้ที่จะต้องรู้แล้ว ยังมีเรื่องรูปแบบของรายได้ที่จะต้องเสียภาษี หรือไม่ต้องเสียขึ้นจากการขายสินค้า บริการนั้นก็คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT นั่นเอง
โดยปกติแล้ว ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจจะต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็ต่อเมื่อธุรกิจมีรายได้มากกว่า 1 ล้าน 8 แสนบาทต่อปี ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมจัดทำรายงานภาษีการขายรายงานภาษีการซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเพิ่มเติมอีกด้วย
ถ้ายังเลี่ยงภาษีแล้วโดนเรียกเก็บย้อนหลัง บอกเลยว่าอ่วมแน่นอน!
ยังมีเจ้าของธุรกิจมากมาย ที่ยังหลีกเลี่ยงการเสียภาษี เพราะคิดว่าน่าจะไม่ถูกจับได้ ซึ่งถือเป็นการผิดกฎหมาย และถ้าเกิดโดนจับได้จะต้องเสียค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยเรียกว่าเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ซึ่งจะโดนเรียกภาษีย้อนหลังเป็นเวลาค่อนข้างนานได้อีกด้วย ซึ่งบอกเลยว่าไม่คุ้มแน่นอน และยังอาจทำให้ธุรกิจล้มลงเลยก็เป็นได้
รู้อย่างนี้แล้วเราก็หวังว่าเจ้าของธุรกิจทุกธุรกิจที่ได้อ่านในเรื่องของภาษีนี้กันแล้ว จะสามารถยื่นแบบภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ เพราะเมื่อเรายังคงหลีกเลี่ยง และเพิกเฉยต่อการเสียภาษีนั้น ถือเป็นความเสี่ยงที่สูงมาก จึงอยากให้ทุกคนให้ความสำคัญ และปฏิบัติตามเพื่อความสบายใจของเรากันครับ